ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Camphor tree
Camphor tree
Blumea balsamifera (L.) DC.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Compositae (Asteraceae)
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Blumea balsamifera (L.) DC.
 
  ชื่อไทย หนาดใหญ่, หนาดหลวง
 
  ชื่อท้องถิ่น ส้างหยิ้ง(ม้ง), อิ่มบั้วะ(เมี่ยน), หนาด(ไทลื้อ,คนเมือง,ลั้วะ), เก๊าล้อม(ลั้วะ), ด่อละอู้(ปะหล่อง), เพาะจี่แบ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นมีความสูงประมาณ 5 – 6 ฟุต ทั่วลำต้นมีขนสีขาวนุ่ม ลำต้นเป็นแก่นแข็ง
ใบ ใบมีลักษณะเป็นรูปยาวรี ปลายใบแหลม โคนใบเรียวแหลมเล็กน้อย ริมขอบใบหยักเป็นซี่ใหญ่ ไม่เท่ากัน ขนาดของใบกว้างประมาณ 1.2 – 4.5 ซม. ยาวประมาณ 10 – 17 ซม. หลังใบและใต้ท้องใบมีขนทั้ง 2 ด้าน
ดอก ดอกออกเป็นช่อ ตามบริเวณปลายกิ่ง ลักษณะของดอกย่อยมีกลีบดอกติดกันเป็นหลอด ส่วนปลายกลีบแยกออกจากกันเป็น 5 กลีบ กลีบดอกอ่อนจะมีเป็นสีเหลือง แต่พอแก่กลีบดอกก็จะเปลี่ยนกลายเป็นสีขาว
ผล ผลมีลักษณะเป็นเส้นเล็ก ๆ มีเหลี่ยมอยู่ 10 เหลี่ยม ส่วนบนเป็นขนสีขาว ๆ[1]
 
  ใบ ใบ ใบมีลักษณะเป็นรูปยาวรี ปลายใบแหลม โคนใบเรียวแหลมเล็กน้อย ริมขอบใบหยักเป็นซี่ใหญ่ ไม่เท่ากัน ขนาดของใบกว้างประมาณ 1.2 – 4.5 ซม. ยาวประมาณ 10 – 17 ซม. หลังใบและใต้ท้องใบมีขนทั้ง 2 ด้าน
 
  ดอก ดอก ดอกออกเป็นช่อ ตามบริเวณปลายกิ่ง ลักษณะของดอกย่อยมีกลีบดอกติดกันเป็นหลอด ส่วนปลายกลีบแยกออกจากกันเป็น 5 กลีบ กลีบดอกอ่อนจะมีเป็นสีเหลือง แต่พอแก่กลีบดอกก็จะเปลี่ยนกลายเป็นสีขาว
 
  ผล ผล ผลมีลักษณะเป็นเส้นเล็ก ๆ มีเหลี่ยมอยู่ 10 เหลี่ยม ส่วนบนเป็นขนสีขาว ๆ
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ยอดอ่อน หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปตุ๋นใส่ไข่ รับประทานรักษาโรคไข้มาเลเรีย(ม้ง)
ใบ นำมาสับแล้วตากแห้งใช้เข้ายาห่มตำรับไทลื้อ บำรุงร่างกายและผิวพรรณ(ไทลื้อ)
ใบ ขยี้แล้วใช้ยัดจมูกเวลาเลือดกำเดาไหลช่วยให้เลือดหยุดไหล(คนเมือง)
ใบ เป็นส่วนประกอบในยาต้มให้สตรีหลังคลอดอาบเพื่อช่วยให้ฟื้นตัวเร็ว (ยาต้มประกอบด้วยสมุนไพรอื่นๆ เช่น ไพล, ราชาวดีป่า, อูนป่า และเปล้าหลวง)
ต้น ต้มน้ำอาบแก้อาการไข้(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ใบ เป็นส่วนผสมในยาสมุนไพรอาบรักษาอาการผิดเดือนสำหรับสตรีหลังคลอดลูกร่วมกับใบเปล้าหลวง (ลำเชิน) และใบหมากป่า
ราก นำมาต้มในน้ำผสมกับรากเปล้าหลวง (ลำเชิน) ใช้เป็นยาห่มรักษาอาการผิดเดือน(ลั้วะ)
ใบ นำมาขยี้แล้วดมแก้อาการเลือดกำเดาไหล หรือนำมานวดที่หน้าอกแก้อาการเจ็บหน้าอก ถ้าไม่หายให้นำต้นมาต้มน้ำดื่ม(ลั้วะ)
ใบอ่อน ทุบแล้วแช่น้ำดื่มแก้อาการท้องร่วงหรือใช้ต้มน้ำร่วมกับ ใบช่าน โฟว(ว่านน้ำเล็ก) ลำต้นป้วงเดียตม เครือไฮ่มวย ต้นถ้าทางเมีย ต้นเดี่ยปวง(สามร้อยยอด) ใบสะโกวเดี๋ยง(เดื่อฮาก) ใบจ้ากิ่งยั้ง (ก้านเหลือง) ใบทิ่นหุ้งจา(ฝ่าแป้ง)ให้สตรีหลังคลอดบุตรที่อยู่ไฟอาบเพื่อช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น(ถ้าหาสมุนไพรได้ไม่ครบก็ให้ ใช้เท่าที่หาได้)(เมี่ยน)
- ใบ ใช้เป็นที่ปะพรมน้ำมนต์ปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายร่วมกับกิ่ง พุทรา(คนเมือง)
- พิมเสน สกัดใบและยอดอ่อนด้วยไอน้ำ จะได้น้ำมันหอมทำให้เย็น พิมเสนก็จะตกผลึก แล้วกรองแยกเอาผลึกพิมเสนมาใช้ประมาณ 0.15 – 0.3 กรัม นำมาป่นให้เป็นผงละเอียด หรือทำเป็นยาเม็ดกินเป็นยาแก้ปวดท้อง ท้องร่วงหรือใช้ขับลม เมื่อใช้ภายนอกนำผงมาโรยใส่บาดแผล แผลอักเสบ แก้กลากเกลื้อน และแผลฟกช้ำ เป็นต้น
ใบและยอดอ่อน ใช้ใบและยอดอ่อนแห้งประมาณ 10 – 18 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไข้ ขับเหงื่อ แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ ปวดท้อง ขับเสมหะ แก้ริดสีดวงจมูก ขับลมในลำไส้ ขับพยาธิ แก้บิด บำรุงกำลัง หรือใช้ภายนอกด้วยการบดให้เป็นผงละเอียดผสมสุรา ใช้พอกหรือทาแผลผกช้ำ ฝีบวม อักเสบ แผลฝีหนอง บาดแผลสด ห้ามเลือด แก้ปวดหลังเอว ปวดข้อ และแก้กลากเกลื้อน เป็นต้น
ราก ใช้รากสด ประมาณ 15 – 30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้บวม ปวดข้อ ปวดท้อง ท้องเสีย ขับลม ทำให้การหมุนเวียนของโลหิตดี และแก้ปวดเมื่อยหลังคลอดแล้ว เป็นต้น[1]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง